วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมา

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ นายอำเภอยโสธรในสมัยนั้นดำริเห็นว่า ท้องที่ตำบลโนนเปือย ตำบลโพนงาม ตำบลกำแมด และตำบลไผ่ อยู่ห่างไกลจากอำเภอยโสธร หนทางทุรกันดาร ลำบากแก่ราษฎรในการไปมาติดต่อราชการ ณ ที่ว่าการอำเภอยโสธร ประกอบกับเจตนารมณ์อันแรงกล้าของราษฎรทั้ง ๔ ตำบลดังกล่าวที่มีความต้องการให้ทางราชการยกฐานะ ๔ ตำบลเป็นกิ่งอำเภอ โดยราษฎรยินดีจะสร้างอาคารสถานที่ราชการให้ โดยไม่ต้องรบกวนงบประมาณของทางราชการแต่อย่างใด เพื่อสนองเจตนาอันแน่วแน่ของประชาชนและเพื่อความเจริญของบ้านเมืองในอนาคต ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ จึงประชุมกำนันทั้ง ๔ ตำบล ซึ่งได้แก่ นายสงค์ วงษ์ไกร กำนันตำบลโนนเปือย นายสาย จันทพาล กำนันตำบลโพนงาม นายวรรณทอง ยาวะโนภาส กำนันตำบลกำแมด และนายหา ยาวะโนภาส กำนันตำบลไผ่ มีมติเป็นเอกฉันท์คัดเลือกชัยภูมิซึ่งได้แก่พื้นที่บางส่วนของ "ดงเย็น" เป็นที่ดอนและตั้งอยู่ใกล้ชิดกับหมู่บ้าน "กุดชุม" ตำบลโนนเปือย เป็นที่ตั้งกิ่งอำเภอ
ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ ก็ได้ลงมือสร้างกันอย่างจริงจัง โดยกำนันทั้ง ๔ ตำบลดังกล่าว เป็นผู้นำที่เข้มแข็งรับอาสาชักชวนราษฎรสละตอไม้และแรงงานในการปราบพื้นที่ตั้งกิ่งอำเภอฯ ในอาณาบริเวณประมาณ ๗๐ ไร่ และได้ตั้งปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอยโสธรผลัดเปลี่ยนกันออกมาดำเนินการกำกับดูแลการก่อสร้างและข้าราชการผู้เป็นกำลังอันสำคัญยิ่งที่มีส่วนผลักดันให้งานนี้เป็นผลสำเร็จก็คือ นายพิสุทธิ์ ฟังเสนาะ ปลัดอำเภอโท อำเภอยโสธร ซึ่งนอกจากจะมากำกับดูแลการก่อสร้างเป็นประจำแล้วยังได้รับภารกิจพิเศษให้เป็นหัวหน้าคณะร่วมกับนายอ่วม นามสละ ที่ดินอำเภอยโสธร นายบุญชู ดีหนองยาง ครูใหญ่ ออกดำเนินการเรี่ยไรข้าวเปลือกจากราษฎรทั้ง ๔ ตำบล เพื่อรวบรวมขายเอาเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับค่าช่างฝีมือ และวัสดุสำคัญในการก่อสร้าง ผลปรากฏว่าได้เงินจากการขายข้าวเปลือกเพียงพอแก่การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ในที่สุดผลแห่งการร่วมมือร่วมใจของประชาชนและข้าราชการก็เสร็จสิ้นลงในราวเดือนพฤษภาคม ๒๕๐๔ มีสถานที่ราชการและบ้านพักซึ่งสร้างด้วยน้ำพักน้ำแรงของราษฎรสำเร็จเรียบร้อย
อนึ่ง ผู้มีส่วนสำคัญยิ่งอีกท่านหนึ่งในการสนับสนุนเป็นกำลังใจให้การก่อสร้างกิ่งอำเภอฯ เป็นผลสำเร็จคือ ท่านพระครูปลัดปาเรสโก (ผัน) เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองหิน ตำบลหนองหิน อำเภอยโสธร และท่านเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างวัดประชาชุมพลขึ้นมาพร้อม ๆ กับการสร้างกิ่งอำเภอฯ และในระยะเวลาต่อมาหลังจากสร้างกิ่งอำเภอ ฯ แล้วเสร็จไม่นาน ท่านก็เป็นผู้ดำเนินการตั้งหลักเมืองให้เป็นศักดิ์ศรีแก่กิ่งอำเภอด้วย
เมื่อสร้างกิ่งอำเภอฯ เสร็จแล้ว ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ นายอำเภอยโสธร ก็รายงานผลไปยังกระทรวงมหาดไทย ขอแยกตำบลโนนเปือย ตำบลโพนงาม ตำบลกำแมด และตำบลไผ่ จากอำเภอยโสธร ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอกุดชุม ตามนามหมู่บ้านกุดชุม ซึ่งสถานที่ที่ตั้งกิ่งอำเภอฯ อยู่ใกล้ที่สุด ในที่สุดได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอกุดชุม เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๐๔ โดยทางราชการได้แต่งตั้งนายพิสุทธิ์ ฟังเสนาะ ปลัดอำเภอโท อำเภอยโสธรมาดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอโท ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอกุดชุมคนแรก และเริ่มเปิดสถานที่ราชการติดต่อกับประชาชน เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๐๔ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (นายกำจัด ผาติสุวัณณ) เป็นประธานกระทำพิธีเปิด
กิ่งอำเภอกุดชุม ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๕ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ คณะปฏิวัติได้ประกาศยกฐานะอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร อำเภอกุดชุมเป็นอำเภอหนึ่งขึ้นอยู่กับจังหวัดยโสธรตั้งแต่นั้นมา
ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็น หัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ๑. นายพิสุทธิ์ ฟังเสนาะ พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๐๖
ผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ๑. นายปกรณ์ประยูร สุขวิพัฒน์ พ.ศ. ๒๕๐๖ - ๒๕๐๗ ๒. นายมานิต วงศ์อนันต์ พ.ศ. ๒๕๐๗ - ๒๕๐๘ ๓. นายสุเธียร นิรันดรเกียรติ์ พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๑๐ ๔. นายอนันต์ คุ้มสิน พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๑๒ ๕. ร.ต.สมาน ธีรนิติ พ.ศ. ๒๕๑๒ - ๒๕๑๔ ๖. พ.ต.สุรัตน์ นราภิรมย์ขวัญ พ.ศ. ๒๕๑๔ - ๒๕๑๖ ๗. ร.อ.จรัส ทิพโกมุท พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๑๙ ๘. นายอาณัติ บัวขาว พ.ศ. ๒๕๑๙ - ๒๕๒๑ ๙. ร.ต.วิชิต อมราสิงห์ พ.ศ. ๒๕๒๑ - ๒๕๒๔ ๑๐. พ.ต.สนอง เกษศิริ พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๕ ๑๑. นายเกษม ไชยนงค์ พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๒๗ ๑๒. นายเปรื่อง งามจันทร์ พ.ศ. ๒๕๒๗ - ๒๕๓๐ ๑๓. นายวิโรจน์ สุนทราวงศ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๓ ๑๔. นายณัฐธศวร ภู่เจริญ พ.ศ. ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔ ๑๕. ร.ต.มานพ พรเรืองวงศ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ - ๒๕๓๖ ๑๖. นายสุชิน อ.โพธิ์ทอง พ.ศ. ๒๕๓๖ - ๒๕๓๘ ๑๗. นายเหรียญ สุขนอก พ.ศ. ๒๕๓๘ - ๒๕๔๐ ๑๘. นายจรูญ น้อยบัวทิพย์ พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๒ ๑๙. นายคณีธิป บุญเกตุ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๓ ๒๐. นายอนันต์ ขำวงษ์รัตนโยธิน พ.ศ. ๒๕๔๓ - ๕ ต.ค. ๒๕๔๖ ๒๑. นายอภิสรรค์ สง่าศรี ๖ ต.ค. ๒๕๔๖ ถึงปัจจุบัน

ข้อมูลจาก : ที่ทำการปกครองอำเภอกุดชุม ; สิงหาคม ๒๕๔๖
https://www.facebook.com/yasothonbanhao/posts/383399371776217?fref=nf&pnref=story
21:11 thanyathorn
ประวัติความเป็นมา

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ นายอำเภอยโสธรในสมัยนั้นดำริเห็นว่า ท้องที่ตำบลโนนเปือย ตำบลโพนงาม ตำบลกำแมด และตำบลไผ่ อยู่ห่างไกลจากอำเภอยโสธร หนทางทุรกันดาร ลำบากแก่ราษฎรในการไปมาติดต่อราชการ ณ ที่ว่าการอำเภอยโสธร ประกอบกับเจตนารมณ์อันแรงกล้าของราษฎรทั้ง ๔ ตำบลดังกล่าวที่มีความต้องการให้ทางราชการยกฐานะ ๔ ตำบลเป็นกิ่งอำเภอ โดยราษฎรยินดีจะสร้างอาคารสถานที่ราชการให้ โดยไม่ต้องรบกวนงบประมาณของทางราชการแต่อย่างใด เพื่อสนองเจตนาอันแน่วแน่ของประชาชนและเพื่อความเจริญของบ้านเมืองในอนาคต ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ จึงประชุมกำนันทั้ง ๔ ตำบล ซึ่งได้แก่ นายสงค์ วงษ์ไกร กำนันตำบลโนนเปือย นายสาย จันทพาล กำนันตำบลโพนงาม นายวรรณทอง ยาวะโนภาส กำนันตำบลกำแมด และนายหา ยาวะโนภาส กำนันตำบลไผ่ มีมติเป็นเอกฉันท์คัดเลือกชัยภูมิซึ่งได้แก่พื้นที่บางส่วนของ "ดงเย็น" เป็นที่ดอนและตั้งอยู่ใกล้ชิดกับหมู่บ้าน "กุดชุม" ตำบลโนนเปือย เป็นที่ตั้งกิ่งอำเภอ
ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ ก็ได้ลงมือสร้างกันอย่างจริงจัง โดยกำนันทั้ง ๔ ตำบลดังกล่าว เป็นผู้นำที่เข้มแข็งรับอาสาชักชวนราษฎรสละตอไม้และแรงงานในการปราบพื้นที่ตั้งกิ่งอำเภอฯ ในอาณาบริเวณประมาณ ๗๐ ไร่ และได้ตั้งปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอยโสธรผลัดเปลี่ยนกันออกมาดำเนินการกำกับดูแลการก่อสร้างและข้าราชการผู้เป็นกำลังอันสำคัญยิ่งที่มีส่วนผลักดันให้งานนี้เป็นผลสำเร็จก็คือ นายพิสุทธิ์ ฟังเสนาะ ปลัดอำเภอโท อำเภอยโสธร ซึ่งนอกจากจะมากำกับดูแลการก่อสร้างเป็นประจำแล้วยังได้รับภารกิจพิเศษให้เป็นหัวหน้าคณะร่วมกับนายอ่วม นามสละ ที่ดินอำเภอยโสธร นายบุญชู ดีหนองยาง ครูใหญ่ ออกดำเนินการเรี่ยไรข้าวเปลือกจากราษฎรทั้ง ๔ ตำบล เพื่อรวบรวมขายเอาเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับค่าช่างฝีมือ และวัสดุสำคัญในการก่อสร้าง ผลปรากฏว่าได้เงินจากการขายข้าวเปลือกเพียงพอแก่การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ในที่สุดผลแห่งการร่วมมือร่วมใจของประชาชนและข้าราชการก็เสร็จสิ้นลงในราวเดือนพฤษภาคม ๒๕๐๔ มีสถานที่ราชการและบ้านพักซึ่งสร้างด้วยน้ำพักน้ำแรงของราษฎรสำเร็จเรียบร้อย
อนึ่ง ผู้มีส่วนสำคัญยิ่งอีกท่านหนึ่งในการสนับสนุนเป็นกำลังใจให้การก่อสร้างกิ่งอำเภอฯ เป็นผลสำเร็จคือ ท่านพระครูปลัดปาเรสโก (ผัน) เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองหิน ตำบลหนองหิน อำเภอยโสธร และท่านเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างวัดประชาชุมพลขึ้นมาพร้อม ๆ กับการสร้างกิ่งอำเภอฯ และในระยะเวลาต่อมาหลังจากสร้างกิ่งอำเภอ ฯ แล้วเสร็จไม่นาน ท่านก็เป็นผู้ดำเนินการตั้งหลักเมืองให้เป็นศักดิ์ศรีแก่กิ่งอำเภอด้วย
เมื่อสร้างกิ่งอำเภอฯ เสร็จแล้ว ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ นายอำเภอยโสธร ก็รายงานผลไปยังกระทรวงมหาดไทย ขอแยกตำบลโนนเปือย ตำบลโพนงาม ตำบลกำแมด และตำบลไผ่ จากอำเภอยโสธร ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอกุดชุม ตามนามหมู่บ้านกุดชุม ซึ่งสถานที่ที่ตั้งกิ่งอำเภอฯ อยู่ใกล้ที่สุด ในที่สุดได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอกุดชุม เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๐๔ โดยทางราชการได้แต่งตั้งนายพิสุทธิ์ ฟังเสนาะ ปลัดอำเภอโท อำเภอยโสธรมาดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอโท ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอกุดชุมคนแรก และเริ่มเปิดสถานที่ราชการติดต่อกับประชาชน เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๐๔ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (นายกำจัด ผาติสุวัณณ) เป็นประธานกระทำพิธีเปิด
กิ่งอำเภอกุดชุม ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๕ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ คณะปฏิวัติได้ประกาศยกฐานะอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร อำเภอกุดชุมเป็นอำเภอหนึ่งขึ้นอยู่กับจังหวัดยโสธรตั้งแต่นั้นมา
ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็น หัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ๑. นายพิสุทธิ์ ฟังเสนาะ พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๐๖
ผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ๑. นายปกรณ์ประยูร สุขวิพัฒน์ พ.ศ. ๒๕๐๖ - ๒๕๐๗ ๒. นายมานิต วงศ์อนันต์ พ.ศ. ๒๕๐๗ - ๒๕๐๘ ๓. นายสุเธียร นิรันดรเกียรติ์ พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๑๐ ๔. นายอนันต์ คุ้มสิน พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๑๒ ๕. ร.ต.สมาน ธีรนิติ พ.ศ. ๒๕๑๒ - ๒๕๑๔ ๖. พ.ต.สุรัตน์ นราภิรมย์ขวัญ พ.ศ. ๒๕๑๔ - ๒๕๑๖ ๗. ร.อ.จรัส ทิพโกมุท พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๑๙ ๘. นายอาณัติ บัวขาว พ.ศ. ๒๕๑๙ - ๒๕๒๑ ๙. ร.ต.วิชิต อมราสิงห์ พ.ศ. ๒๕๒๑ - ๒๕๒๔ ๑๐. พ.ต.สนอง เกษศิริ พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๕ ๑๑. นายเกษม ไชยนงค์ พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๒๗ ๑๒. นายเปรื่อง งามจันทร์ พ.ศ. ๒๕๒๗ - ๒๕๓๐ ๑๓. นายวิโรจน์ สุนทราวงศ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๓ ๑๔. นายณัฐธศวร ภู่เจริญ พ.ศ. ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔ ๑๕. ร.ต.มานพ พรเรืองวงศ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ - ๒๕๓๖ ๑๖. นายสุชิน อ.โพธิ์ทอง พ.ศ. ๒๕๓๖ - ๒๕๓๘ ๑๗. นายเหรียญ สุขนอก พ.ศ. ๒๕๓๘ - ๒๕๔๐ ๑๘. นายจรูญ น้อยบัวทิพย์ พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๒ ๑๙. นายคณีธิป บุญเกตุ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๓ ๒๐. นายอนันต์ ขำวงษ์รัตนโยธิน พ.ศ. ๒๕๔๓ - ๕ ต.ค. ๒๕๔๖ ๒๑. นายอภิสรรค์ สง่าศรี ๖ ต.ค. ๒๕๔๖ ถึงปัจจุบัน

ข้อมูลจาก : ที่ทำการปกครองอำเภอกุดชุม ; สิงหาคม ๒๕๔๖
https://www.facebook.com/yasothonbanhao/posts/383399371776217?fref=nf&pnref=story
สภาพทางภูมิศาสตร์
๑. ที่ตั้งและขนาด
อำเภอกุดชุมตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดยโสธร ห่างจากจังหวัดยโสธร ๓๗ กิโลเมตร อยู่ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๖๙ มีพื้นที่ทั้งหมด ๕๔๔ ตารางกิโลเมตร หรือ ๓๔๐,๐๐๐ ไร่
๒. อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอทรายมูล และอำเภอปาติ้ว จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอป่าติ้วและอำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร และอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
๓. ลักษณะภูมิประเทศ
- สภาพพื้นที่ พื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบสูงมีป่าไม้อยู่ทั่วไป ประเภทของป่าไม้เป็นป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง
- ภูเขา ทิศเหนือของอำเภอเป็นภูเขาสูง สูงจากระดับน้ำทะเล เฉลี่ย ๒๐๐ - ๓๐๐ เมตร
- แม่น้ำ อำเภอกุดชุม ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน แต่มีลำห้วยจำนวน ๘ แห่ง และมีน้ำตลอดปีมีเพียงแห่งเดียวคือ ห้วยโพง ซึ่งไหลผ่านตำบลกุดชุม ตำบลโนนเปือย ตำบลนาโส่ และตำบลกำแมด
๔. สภาพภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุม มี ๓ ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - พฤษภาคม
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - ตุลาคม
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์
ประชากร
ณ วันที่ ๑๑ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ มีจำนวน ๕๙,๙๗๖ คน เป็นชาย ๓๐,๐๖๕ คน หญิง ๒๙,๙๑๑ คน
ความหนาแน่นของประชากร
- ความหนาแน่นของประชากร เฉลี่ยต่อพื้นที่ ๑๑๘ คน / ตารางกิโลเมตร
- ในเขตเทศบาลเท่ากับ ๕๕๑ คน /ตารางกิโลเมตร (ประชากรในเขตเทศบาลเท่ากับ ๔,๒๑๘ คน )
- นอกเขตเทศบาลเท่ากับ ๑๑๑ คน / ตารางกิโลเมตร
รายได้เฉลี่ย
รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีของอำเภอกุดชุม = ๑๗,๙๒๐ บาท (ข้อมูล ณ วันที่ ๑๙ มิ.ย. ๔๖ จาก สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกุดชุม)
การปกครอง
แบ่งเขตการปกครอง ตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ ออกเป็น ๙ ตำบล ๑๒๕ หมู่บ้าน ประกอบด้วย
ตำบล
จำนวนหมู่บ้าน
ชาย
หญิง
รวม
๑. ตำบลกุดชุม ๒. ตำบลกำแมด ๓. ตำบลโนนเปือย ๔. ตำบลนาโส่ ๕. ตำบลห้วยแก้ง ๖. ตำบลโพนงาม ๗. ตำบลหนองหมี ๘. ตำบลคำน้ำสร้าง ๙. ตำบลหนองแหน
๑๙๑๘๑๔๑๑๑๔๑๗๑๒๑๐๑๐
๔,๓๔๓๔,๘๓๙๓,๔๒๐๒,๐๙๘๒,๘๒๖๔,๔๗๐๒,๑๖๗๒,๒๘๖๓,๖๓๗
๔,๓๐๘๔,๘๓๔๓,๓๐๕๒,๐๖๐๒,๙๒๓๔,๕๘๘๒,๑๕๕๒,๑๒๕๓,๖๑๓
๘,๖๕๑๙,๖๗๐๖,๗๒๕๔,๑๕๘๕,๗๔๙๙,๐๕๘๔,๓๒๒๔,๓๙๓๗,๒๕๐
รวม
๑๒๕
๓๐,๐๖๕
๒๙,๙๑๑
๕๙,๙๗๖
โครงสร้างพื้นฐาน
ไฟฟ้า จำนวนครัวเรือนในอำเภอมีทั้งหมด ๑๒,๖๕๓ ครัวเรือน มีไฟฟ้าใช้ ครบทุกครัวเรือน
ประปา มีประปาระดับอำเภอและหมู่บ้าน ดังนี้
- การประปาส่วนภูมิภาค จำนวน ๑ แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน จำนวน ๘๖ แห่ง
โทรศัพท์ มีการให้บริการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๑๗๐ แห่ง
การคมนาคม การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมภายในตำบลและ หมู่บ้าน มีรายละเอียดดังนี้
- ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๑๖๙
- ทางหลวงชนบท จำนวน ๕ สาย
- เส้นทางเชื่อมต่อระหว่างตำบลและหมู่บ้าน เป็นถนนลูกรัง จำนวน ๑๑๘ สาย
แหล่งน้ำ
- ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน
- มีลำห้วยไหลผ่าน ๘ สาย แต่มีเพียงลำห้วยเดียวที่มีน้ำตลอดปี คือลำห้วยโพง
- คลองชลประทาน จำนวน ๒ แห่ง
- ฝาย จำนวน ๔๗ แห่ง
- บ่อบาดาล จำนวน ๕๐๖ แห่ง
- บ่อน้ำตื้น จำนวน ๖๔ แห่ง
- ถังเก็บน้ำ จำนวน ๑๘๓ บ่อ
- โอ่งขนาดใหญ่ จำนวน ๑๘,๐๐๐ ใบ
- ถังเก็บน้ำ ฝ. ๙๙ จำนวน ๗ แห่ง
- ถังเก็บน้ำ ฝ. ๓๓ จำนวน ๔๗ แห่ง
เศรษฐกิจ อาชีพหลัก ได้แก่ (อาชีพและธุรกิจ)
๑. อาชีพทางการเกษตร ประมาณ ร้อยละ ๙๕ ของประชากรทั้งหมด โดยมีพื้นที่ทางการเกษตรทั้งสิ้น ๒๐๕,๑๐๖ ไร่ 
(แยกเป็นพื้นที่การทำนาทั้งหมด ๑๗๔,๓๗๓ ไร่ ข้อมูลจาก สนง.เกษตรอำเภอกุดชุม)
- พืชเศรษฐกิจ คือ ข้าว , มันสำปะหลัง , แตงโม , อ้อย , ฟักทองฯ
- สัตว์เศรษฐกิจ คือ โค , กระบือ , สุกร ,เป็ด , ไก่ ฯ
๒. อาชีพรับจ้าง ประมาณ ร้อยละ ๓
๓. อาชีพค้าขาย ประมาณ ร้อยละ ๒
๔. การอุตสาหกรรม ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม
๕. การสหกรณ์ อำเภอกุดชุมมีสหกรณ์จำนวน ๑ แห่งคือ สหกรณ์การเกษตรอำเภอกุดชุม โดยมีสมาชิกทั้งหมด ๔๗ กลุ่ม จำนวนสมาชิกทั้งหมด ๑,๙๐๙ คน และมีเงินทุนหมุนเวียนในสหกรณ์ ๕๔,๙๙๓,๖๙๑.๘๖ บาท (ข้อมูล ณ วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๖)

ข้อมูลจาก : ที่ทำการปกครองอำเภอกุดชุม ; สิงหาคม ๒๕๔๖
https://www.facebook.com/yasothonbanhao/posts/383399371776217?fref=nf&pnref=story
21:08 thanyathorn
สภาพทางภูมิศาสตร์
๑. ที่ตั้งและขนาด
อำเภอกุดชุมตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดยโสธร ห่างจากจังหวัดยโสธร ๓๗ กิโลเมตร อยู่ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๖๙ มีพื้นที่ทั้งหมด ๕๔๔ ตารางกิโลเมตร หรือ ๓๔๐,๐๐๐ ไร่
๒. อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอทรายมูล และอำเภอปาติ้ว จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอป่าติ้วและอำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร และอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
๓. ลักษณะภูมิประเทศ
- สภาพพื้นที่ พื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบสูงมีป่าไม้อยู่ทั่วไป ประเภทของป่าไม้เป็นป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง
- ภูเขา ทิศเหนือของอำเภอเป็นภูเขาสูง สูงจากระดับน้ำทะเล เฉลี่ย ๒๐๐ - ๓๐๐ เมตร
- แม่น้ำ อำเภอกุดชุม ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน แต่มีลำห้วยจำนวน ๘ แห่ง และมีน้ำตลอดปีมีเพียงแห่งเดียวคือ ห้วยโพง ซึ่งไหลผ่านตำบลกุดชุม ตำบลโนนเปือย ตำบลนาโส่ และตำบลกำแมด
๔. สภาพภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุม มี ๓ ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - พฤษภาคม
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - ตุลาคม
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์
ประชากร
ณ วันที่ ๑๑ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ มีจำนวน ๕๙,๙๗๖ คน เป็นชาย ๓๐,๐๖๕ คน หญิง ๒๙,๙๑๑ คน
ความหนาแน่นของประชากร
- ความหนาแน่นของประชากร เฉลี่ยต่อพื้นที่ ๑๑๘ คน / ตารางกิโลเมตร
- ในเขตเทศบาลเท่ากับ ๕๕๑ คน /ตารางกิโลเมตร (ประชากรในเขตเทศบาลเท่ากับ ๔,๒๑๘ คน )
- นอกเขตเทศบาลเท่ากับ ๑๑๑ คน / ตารางกิโลเมตร
รายได้เฉลี่ย
รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีของอำเภอกุดชุม = ๑๗,๙๒๐ บาท (ข้อมูล ณ วันที่ ๑๙ มิ.ย. ๔๖ จาก สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกุดชุม)
การปกครอง
แบ่งเขตการปกครอง ตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ ออกเป็น ๙ ตำบล ๑๒๕ หมู่บ้าน ประกอบด้วย
ตำบล
จำนวนหมู่บ้าน
ชาย
หญิง
รวม
๑. ตำบลกุดชุม ๒. ตำบลกำแมด ๓. ตำบลโนนเปือย ๔. ตำบลนาโส่ ๕. ตำบลห้วยแก้ง ๖. ตำบลโพนงาม ๗. ตำบลหนองหมี ๘. ตำบลคำน้ำสร้าง ๙. ตำบลหนองแหน
๑๙๑๘๑๔๑๑๑๔๑๗๑๒๑๐๑๐
๔,๓๔๓๔,๘๓๙๓,๔๒๐๒,๐๙๘๒,๘๒๖๔,๔๗๐๒,๑๖๗๒,๒๘๖๓,๖๓๗
๔,๓๐๘๔,๘๓๔๓,๓๐๕๒,๐๖๐๒,๙๒๓๔,๕๘๘๒,๑๕๕๒,๑๒๕๓,๖๑๓
๘,๖๕๑๙,๖๗๐๖,๗๒๕๔,๑๕๘๕,๗๔๙๙,๐๕๘๔,๓๒๒๔,๓๙๓๗,๒๕๐
รวม
๑๒๕
๓๐,๐๖๕
๒๙,๙๑๑
๕๙,๙๗๖
โครงสร้างพื้นฐาน
ไฟฟ้า จำนวนครัวเรือนในอำเภอมีทั้งหมด ๑๒,๖๕๓ ครัวเรือน มีไฟฟ้าใช้ ครบทุกครัวเรือน
ประปา มีประปาระดับอำเภอและหมู่บ้าน ดังนี้
- การประปาส่วนภูมิภาค จำนวน ๑ แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน จำนวน ๘๖ แห่ง
โทรศัพท์ มีการให้บริการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๑๗๐ แห่ง
การคมนาคม การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมภายในตำบลและ หมู่บ้าน มีรายละเอียดดังนี้
- ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๑๖๙
- ทางหลวงชนบท จำนวน ๕ สาย
- เส้นทางเชื่อมต่อระหว่างตำบลและหมู่บ้าน เป็นถนนลูกรัง จำนวน ๑๑๘ สาย
แหล่งน้ำ
- ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน
- มีลำห้วยไหลผ่าน ๘ สาย แต่มีเพียงลำห้วยเดียวที่มีน้ำตลอดปี คือลำห้วยโพง
- คลองชลประทาน จำนวน ๒ แห่ง
- ฝาย จำนวน ๔๗ แห่ง
- บ่อบาดาล จำนวน ๕๐๖ แห่ง
- บ่อน้ำตื้น จำนวน ๖๔ แห่ง
- ถังเก็บน้ำ จำนวน ๑๘๓ บ่อ
- โอ่งขนาดใหญ่ จำนวน ๑๘,๐๐๐ ใบ
- ถังเก็บน้ำ ฝ. ๙๙ จำนวน ๗ แห่ง
- ถังเก็บน้ำ ฝ. ๓๓ จำนวน ๔๗ แห่ง
เศรษฐกิจ อาชีพหลัก ได้แก่ (อาชีพและธุรกิจ)
๑. อาชีพทางการเกษตร ประมาณ ร้อยละ ๙๕ ของประชากรทั้งหมด โดยมีพื้นที่ทางการเกษตรทั้งสิ้น ๒๐๕,๑๐๖ ไร่ 
(แยกเป็นพื้นที่การทำนาทั้งหมด ๑๗๔,๓๗๓ ไร่ ข้อมูลจาก สนง.เกษตรอำเภอกุดชุม)
- พืชเศรษฐกิจ คือ ข้าว , มันสำปะหลัง , แตงโม , อ้อย , ฟักทองฯ
- สัตว์เศรษฐกิจ คือ โค , กระบือ , สุกร ,เป็ด , ไก่ ฯ
๒. อาชีพรับจ้าง ประมาณ ร้อยละ ๓
๓. อาชีพค้าขาย ประมาณ ร้อยละ ๒
๔. การอุตสาหกรรม ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม
๕. การสหกรณ์ อำเภอกุดชุมมีสหกรณ์จำนวน ๑ แห่งคือ สหกรณ์การเกษตรอำเภอกุดชุม โดยมีสมาชิกทั้งหมด ๔๗ กลุ่ม จำนวนสมาชิกทั้งหมด ๑,๙๐๙ คน และมีเงินทุนหมุนเวียนในสหกรณ์ ๕๔,๙๙๓,๖๙๑.๘๖ บาท (ข้อมูล ณ วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๖)

ข้อมูลจาก : ที่ทำการปกครองอำเภอกุดชุม ; สิงหาคม ๒๕๔๖
https://www.facebook.com/yasothonbanhao/posts/383399371776217?fref=nf&pnref=story
คำขวัญ
พระใหญ่คู่บ้าน ศาลเจ้าพ่อคู่เมือง ลือเลื่องบุญบั้งไฟ 
สมุนไพรมากมี ข้าวดีปลอดสารพิษ งามนิมิตภูทางเกวียน

http://www.amphoe.com/menu.php?mid=1&am=480&pv=44
20:51 thanyathorn
คำขวัญ
พระใหญ่คู่บ้าน ศาลเจ้าพ่อคู่เมือง ลือเลื่องบุญบั้งไฟ 
สมุนไพรมากมี ข้าวดีปลอดสารพิษ งามนิมิตภูทางเกวียน

http://www.amphoe.com/menu.php?mid=1&am=480&pv=44
งานบุญคูณลานข้าว บ้านโสกขุมปูน หมู่ที่ ๒ บุญเบิกบ้าน ต.นาโส่

แข่งจักรยานเสือภูเขา "กุดชุมสู่ภูหมากพริก" จะมีการจัดทุกปี ซึ่งเริ่มจัดครั้งแรกในปี ๒๕๔๓ โดย "ชมรมจักรยานเสือภูเขาอำเภอกุดชุม" เป็นเจ้าภาพ

งานสมโภชศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อำเภอกุดชุม จัดเป็นประจำทุกปีในวันที่ ๑๙ , ๒๐ มีนาคมของทุกปี ในวันแรกของการจัดงานจะมีการเปลี่ยนผ้าทรงขององค์เจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งองค์เจ้าพ่อหลักเมืองนี้ เป็นที่เคารพ สักการบูชา และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพี่น้องชาวอำเภอกุดชุมเป็นอย่างมาก

งานบุญบั้งไฟ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี ในวันที่ มิถุนายน ของทุกปี โดยมีเทศบาลตำบลกุดชุมพัฒนาร่วมกับพี่น้องประชาชนชาวอำเภอกุดชุมร่วมกันเป็นเจ้าภาพ

20:50 thanyathorn
งานบุญคูณลานข้าว บ้านโสกขุมปูน หมู่ที่ ๒ บุญเบิกบ้าน ต.นาโส่

แข่งจักรยานเสือภูเขา "กุดชุมสู่ภูหมากพริก" จะมีการจัดทุกปี ซึ่งเริ่มจัดครั้งแรกในปี ๒๕๔๓ โดย "ชมรมจักรยานเสือภูเขาอำเภอกุดชุม" เป็นเจ้าภาพ

งานสมโภชศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อำเภอกุดชุม จัดเป็นประจำทุกปีในวันที่ ๑๙ , ๒๐ มีนาคมของทุกปี ในวันแรกของการจัดงานจะมีการเปลี่ยนผ้าทรงขององค์เจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งองค์เจ้าพ่อหลักเมืองนี้ เป็นที่เคารพ สักการบูชา และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพี่น้องชาวอำเภอกุดชุมเป็นอย่างมาก

งานบุญบั้งไฟ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี ในวันที่ มิถุนายน ของทุกปี โดยมีเทศบาลตำบลกุดชุมพัฒนาร่วมกับพี่น้องประชาชนชาวอำเภอกุดชุมร่วมกันเป็นเจ้าภาพ

แหล่งท่องเที่ยว
๑. ในเขตพื้นที่ของตำบลกุดชุม มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติดังนี้
๑.๑ ภูหินปูน  ตั้งอยู่ห่างจากบ้านนามน ม. ๑๖ ต. กุดชุม ประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นส่วนหนึ่งของแนวภูเขาที่ทอดยาวเป็นช่วง ๆ จากอำเภอเลิงนกทา ภูมิประเทศบางแห่งมีความละม้ายคล้ายภูผาเทิบ จังหวัดมุกดาหาร บริเวณที่โดดเด่นที่สุด คือปฏิมากรรมหินทรายขนาดใหญ่ฝีมือธรรมชาติ คล้ายเต่ายักษ์โบราณชูคอ จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของภูหินปูน บ้างคล้ายยอดมงกุฎ และรูปสัตว์ประหลาดต่าง ๆ ตามแต่มุมมององศาที่มองดูและจินตนาการของผู้พบเห็น ในหน้าฝน พืชตระกูลหญ้าที่มีดอกสีสรรสวยงามนานาชนิดเจริญงอกงามตามลานหิน ที่มีน้ำไหลผ่าน ซึ่งพบได้ที่ภูผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี ภูผายล จังหวัดสกลนคร ภูสระดอกบัว จังหวัดมุกดาหาร ให้ความประทับจิตเช่นไร ที่นี่ก็ให้ความประทับใจเช่นนั้น
กิจกรรมที่น่าสนใจ เป็นเส้นทางของจักรยานเสือภูเขา การเดินป่าศึกษาระบบนิเวศวิทยา (Ecological System) เรียนรู้ความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง ทั้งสังคมพืชและสังคมสัตว์น้อยใหญ่ ที่กำเนิดมาและอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนบนภูหินปูนแห่งนี้…. จากจุดนี้ข้างหน้าเป็นเส้นทางที่ทอดเลื้อยไปตามความสูงของภู ประมาณ ๒๐๐ เมตร ไปสิ้นสุดที่หน้าผาใหญ่ ซึ่งบริเวณแห่งนี้เป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์นามพุทธสถานภูหินปูน….๑.๒ ภูหมากพริก ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านทองสัมฤทธิ์ ม.๑๕ ต.กุดชุม ห่างจากภูหินปูนตามเส้นทางถนนลูกรังประมาณ ๘ กม. ธรรมชิภูแห่งนี้ยังคงความอุดมสมบูรณ์ตามลักษณะของป่าดิบแล้วประกอไปด้วยสมุนไพร และสัตว์ตัวเล็ก ๆ จำพวกกระลอก กระแต กระต่ายป่า ตะกวด ไก่ป่า งู และนก ภูมิประเทศบางช่วงบางตอนคล้ายภูกระดึงจังหวัดเลย ตามลำห้วยซึ่งมีน้ำไหลผ่านลานหิน จะมีปูภูเขาอาศัยอยู่ตามซอกหินริมน้ำ ชาวบ้านเรียกปูชนิดนี้ว่า ปูแป้ง ลักษณะหลังกระดองมีสีม่วง ลำตัวและขามีสีส้ม จาง ๆ และมีลักษณะพิเศษอีกประการคือ ที่ขาจะมีขนขึ้นประปราย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเครื่องหมาย แสดงความสำคัญ ที่ลงตัวของระบบนิเวศได้ทางหนึ่งและมีสถานที่อันที่น่าสนใจซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกันคืออ่างปากั้ง จั่นกอบง (แหล่งน้ำซึม) ต้นไทรย่องและถ้ำพระจันทร์ ลักษณะเด่นอีกอย่างของภูหมากพริกคือมีต้นจันทร์ผาที่สวยงามขึ้นตามบริเวณถ้ำที่เป็นหินเทิบขนาดใหญ่ และเป็นที่วิปัสนากรรมฐานของพระภิกษุสงฆ์อันเป็นที่ตั้งของภูหมากพริก
ภูหมากพริกยังเป็นตำนานของจักรยานเสือภูเขาซึ่งทุกปีจะมีการแข่งขันภายใต้ "กุดชุมสู่ภูหมากพริกต้านยาเสพติด" (เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๔๓) ในแต่ปีจะมีนักแข่งจักรยานเสือภูเขาจากทุกภาคในประเทศ และ ให้การยอมรับว่าเป็นสนามแข่งขันที่มีความประทับใจไม่แพ้ที่อื่น ๆ เลย๑.๓ ภูถ้ำสิม ตั้งอยู่บ้านทองสัมฤทธิ์ ม.๑๕ ต.กุดชุม เป็นถ้ำที่มีลักษณะเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ มีโขดหินขนาดใหญ่มาก ลักษณะเด่นของถ้ำสิม คือ บริเวณรอบ ๆ ถ้ำ จะมีพืชสมุนไพรบำรุงกำลังหลายชนิดเช่น ต้นพญาเสือโคร่ง ที่มีขนาดต้นใหญ่มาก
       http://www.yasothontoday.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=122
๒. ในเขตพื้นที่ของตำบลคำน้ำสร้าง เขตภูเขาของตำบลคำน้ำสร้าง ช่วงปลายฝนต้นหนาวระหว่างเดือนตุลาคม ถึง เดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นช่วงรอยต่อฤดูการปลายฝนต้นหนาวถือว่าเหมาะสมที่สุดในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ด้วยแผ่นดินมีความชุ่มชื้นแต่ไม่ชื้นแฉะเหมาะแก่การเดินทาง อากาศกำลังเย็นสบายไม่ถึงหนาวเหน็บ สายธารน้ำตกยังสาดซ่าได้เห็นสังคมพืชตระกูลหญ้านานาชนิดบนลานหิน เช่น สร้อยสวรรณา ดุสิตา หนาวเดือนห้า กระดุมเงิน กระดุมทอง บัวดิน กำลังผลิดอกสพรั่งงดงามเป็นพิเศษ บริเวณทางน้ำไหลผ่านก่อนจะโรยราตอนสิ้นปี ด้วยบรรยากาศเช่นนี้จึงขอแนะนำและเชื้อเชิญให้ไปท่องเที่ยวที่เขตพื้นที่ตำบลคำน้ำสร้าง ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งอาทิเช่น
๒.๑ ภูถ้ำพระ ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านภูถ้ำพระ ม.๕ ต. คำน้ำสร้าง ห่างจากอำเภอกุดชมประมาณ ๑๔ กม. สภาพพื้นที่เป็นลาหินปูนมีปฏิมากรรมหินทรายฝีมือธรรมชาติกระจายกันอยู่ทั่วไป และมีพุทธรูปปางไสยาสน์ ขนาดใหญ่และพระพุทธรูปปาง ต่าง ๆ ประดิษฐานบนเนินหินดูโดดเด่นสดุดตาทัศนียภาพสามารถมองเห็นได้รอบทิศทาง และในช่วงวันที่ ๒๕ เมษายนของทุกปีจะมีชาวบ้านในพื้นที่และใกล้เคียงขึ้นไปสรงน้ำพระ ซึ่งถือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาช้านานแล้ว
 http://www.tlcthai.com/travel/9474/%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%
๒.๒ น้ำตกนางนอน เดิมชื่อหลุบปลาผาอยู่ห่างจากวัดภูถ้ำพระประมาณ ๘๐๐ ม. เมื่อถึงที่จอดรถเดินต่อไปอีกประมาณ ๒๐๐ ม. ถึงลำห้วยซึ่งมีน้ำไหลผ่านมาตามลานหินบรรยากาศชุ่มเย็นแวดล้อมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่นานาพันธุ์ช่วงที่เป็นน้ำตก สายน้ำไหลผ่านโขดหินและลดระดับเป็นมุมฉากสู่ลานหินเบื้องล่างถึงจะไม่ยิ่งใหญ่อลังการแต่ก็นับว่าเป็นความสวยงาม ที่ลงตัวทีเดียว นอกจากนั้นบริเวณใกล้เคียงกันยังมีถ้ำปลาและถ้ำเจียอันเร้นลับรอคอยผู้มาเยือน
๒.๓ อ่างเก็บน้ำหลุบหนองนอ ตั้งอยู่ในพื้นที่เชิงเขาของบ้านภูถ้ำพระ ม.๕ ต.คำน้ำสร้าง อ่างเก็บน้ำแห่งนี้ก่อสร้างเสร็จเมื่อต้นปี ๒๕๔๔ พื้นที่ผิวน้ำประมาณ ๕๐ ไร่ สภาพธรรมชาติยังคงสมบูรณ์อยู่มากกิจกรรมที่น่าสนใจคือ ดูนกเป็ดน้ำ ล่องแพ ศึกษาธรรมชาติ เดินป่าชมสวน รูปทรงแปลกตาพร้อมดอกหญ้าบานบนลานหินดังที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้นหรือการปั่นจักรยานเสือภูเขา รวมถึงเส้นทางในการแข่งออฟโรด ที่น่าตื่นตาตื่นใจไม่แพ้กัน ทุกวันจะมีแม่ค้านำอาหารและเครื่องดื่มมาจำหน่ายด้วย ที่นี่ถือเป็นดาวรุ่งของแหล่งท่องเที่ยวอำเภอกุดชุม
๓. ในเขตพื้นที่ของตำบลหนองแหน จากอำเภอกุดชุมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๒๕ กิโลเมตร คือพื้นที่ ตำบลหนองแหนที่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๘๒ ตารางกิโลเมตร ด้วยการที่มีแนวภูเขาหินปูนพาดผ่าน จึงก่อให้เกิดภูมิประเทศที่งดงามไปด้วยภูผา หุบเขาผืนป่า ผืนน้ำ ส่ำสัตว์น้อยใหญ่และวัดเชิงภู ส่วนพื้นราบนอกจากการทำนาตามวิถีชีวิตของชาวอีสานแล้ว ที่นี่ยังเป็นแหล่งผลิตยางพารา อ้อย พุทรา และฟักทองบ้านโนนประทายอันเลื่องชื่อ โคขุนก็เป็นหนึ่ง สินค้าประเภท หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ คือกระติบข้าวที่ทำมาจากกกก็กำลังมาแรงด้วยความที่อยู่ห่างไกลตัวอำเภอและถนนหนทางบางช่วงก็ขรุขระไปบ้าง จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทรัพยากรการท่องเที่ยวยังมิได้เปิดตัวต่อสาธารณชนมากนักเสมือนหนึ่งมีม่านบังบาง ๆ มาบดบังไว้ในโอกาสนี้จึงใคร่ขอรายงานท่านอย่างคร่าว ๆ ดังนี้
๓.๑ ภูทางเกวียน ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าอ่างกกกุง เป็นส่วนหนึ่งของแนวภูหินปูน ภูแห่งนี้ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าดิบแล้ง และทุ่งหญ้าตามลานหิน จากยอดภูจะมองเห็นภูผาขาว ภูอีด่าง ภูจ้อก้อ นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ตั้งของวัดภูทางเกวียน จากเชิงเขามีทางขึ้นวัดได้ ๒ ทาง เส้นทางแรกเป็นทางเดินไปตามบันไดคอนกรีต ส่วนเส้นทางที่สองเป็นถนนคอนกรีต ซึ่งสามารถขับรถยนต์ถึงบริเวณวัดได้อย่างสะดวกสบาย สาเหตุที่เรียกกันว่า ภูทางเกวียน นี้ เนื่องจากบนภูเขามีร่องหินสองร่องขนานกัน คล้ายรอยล้อเกวียน โดยมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า มีผู้นำเกวียนบรรทุกของมีค่ามาซุกซ่อนไว้ ณ บริเวณแห่งนี้ ในอดีตจึงมีผู้พยายามขุดค้นหาของมีค่าและวัตถุโบราณกัน เพราะความสวยงามของภูแห่งนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของคำขวัญอำเภอกุดชุม ที่ว่า " งามนิมิตภูทางเกวียน " และหากมาเยือนช่วงปลายฝนต้นหนาว ท่านจะได้พบกับวัฏจักรธรรมชาติ ของภูทางเกวียนภาคอีสาน คือ ทุ่งดอกหญ้าบนลานหินด้วย
๓.๒ อ่างเก็บน้ำกกกุง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ต.หนองแหน มีพื้นที่ผิวน้ำประมาณ ๑๐๐ ไร่ ห่างจากตัวอำเภอกุดชุมประมาณ ๓๐ กิโลเมตร อยู่ระหว่างภูทางเกวียน และภูเพ แหล่งน้ำแห่งนี้อุดมไปด้วยปลาธรรมชาติ และปลาที่หน่วยงานกรมประมงนำมาปล่อย ในอนาคตอันใกล้นี้หวังว่าจะมีผลผลิตจากกุ้งก้ามกรามอีกด้วย เพราะเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๕ ที่ผ่านมานี้ ท่านสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดยโสธร นายสมบูรณ์ ทองบุราณ ร่วมกับนายอำเภอกุดชุม และ อบต. หนองแหน ได้ร่วมกันปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกรามเป็นจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ ตัว เนื่องจากเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สุด ของตำบลหนองแหน ประกอบกับทัศนียภาพโดยรอบเป็นภูเขาและป่าไม้ยังอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง อ่างกกกุงจึงเปรียบดุจเพชรเม็ดงามที่ซุกซ่อนอยู่กลางป่าเขา เฝ้ารอคอยเพื่อมอบความประทับใจแด่ผู้มาเยือน
กิจกรรมที่น่าสนใจ คือ การเดินป่า การตกปลา ตั้งแค้มปิ้งหรือนั่งเรือชมอ่างเก็บน้ำ
๓.๓ ภูผาขาว  เป็นส่วนหนึ่งของภูหินปูน มองเห็นแต่ไกล ลักษณะเป็นหน้าผาสีขาวโดดเด่น ส่วนที่เชิงภูเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ภูผาขาว ซึ่งมีศาลาหลังใหญ่สร้างใต้แนวหินเทิบยาวประมาณ ๑๐๐ เมตร บรรยากาศโน้นน้าวความรู้สึกให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของขุนเขา ชาวบ้านที่คุ้นเคยกับพื้นที่มักจะขึ้นไปหาของป่า ตามเส้นทางนี้
๓.๔ ดานยาว (สนามฮอ) ห่างจากสำนักสงฆ์ภูผาขาว ด้วยระยะทางเท้าคดเคี้ยวไปตามสันภูประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นลานหินขนาดใหญ่มากคำนวณด้วยสายตาคงมีพื้นที่ขนาดสนามฟุตบอล ๒ สนามต่อกัน ดารดาษไปด้วยทุ่งดอกหญ้าบนลานหิน โดยเฉพาะดอกกระดุมเงินจะมีมากเป็นพิเศษ ที่นี่เป็นแหล่งอาหารของกระต่ายป่า ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปหมด นอกจากนี้ยังเป็นจุดลงเฮลิคอปเตอร์ของกรมป่าไม้ที่มาดำเนินการดับไฟป่า โดยมีสัญลักษณ์เครื่องหมายวงกลมสีขาวขนาดใหญ่ ภายในทาสีแสด ลักษณะคล้ายพยัญชนะตัวไอ (ตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ)
กิจกรรมที่น่าสนใจ การเดินป่าท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ส่วนการตั้งเต้นพักแรมก็เป็นกิจกรรมที่ท้าทายให้ความรู้สึกเหมือนบรรยากาศที่ภูกระดึง แต่ต้องระมัดระวังผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมดั้งเดิมด้วย๓.๕ ดานฮังริน ตั้งอยู่ไหล่เขาลักษณะเป็นลานกว้าง ห่างจากดานยาว ประมาณ ๗๐๐ เมตร โดยการเดินย่ำขึ้นย่ำลงไปตามภูมิประเทศป่าดิบแล้ง ที่ยังคงความสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง ดานแห่งนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งแห่งความสุดยอด เห็นความหลากหลายของสังคมพืช ภาพเบื้องหน้าเป็นทุ่งดอกกระเจียวขึ้นสลับกับทุ่งหญ้าภูเขาชนิดต่าง ๆ ต้นรังตัวผู้ - ตัวเมีย ขึ้นเป็นหย่อม ๆ บางต้นใบสีแดงบางต้นใบสีขาว มองไปรอบตัวเห็นภูล้อมรอบ ๓๖๐ องศา อยู่ใกล้ ๆ ราวกับมือจะเอื้อมถึงและที่นี่เป็นต้นน้ำ " ฮ่องฮังริน " ลักษณะเป็นร่องน้ำที่ไหลผ่านโขนหินน้อยใหญ่รูปทรงแปลกตา เป็นแนวคดเคี้ยวทอดต่ำลงสู่ตีนภู
นอกจากนี้ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวเด่น ๆ ที่ภูแห่งนี้อีกเป็นอันมาก เช่น น้ำตกร่องตลาด ถ้ำเจีย ผาเฟิร์น ผาผึ้ง หากท่านผู้ใดใคร่จะสัมผัสกับธรรมชาตที่สุดแสนงดงามมหัศจรรย์ของภูเขา ตำบลหนองแหน โปรดติดต่อและประสานคนนำทาง (มัคคุเทศก์ท้องถิ่น) ได้ที่ อบต.หนองแหน หรือผู้ใหญ่บ้านหนองแหนก็ได้
แหล่งท่องเที่ยว ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อยู่ระหว่างการพัฒนาให้เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ซึ่งขณะนี้ ยังไม่มีที่พักและร้านขายอาหารสำหรับนักท่องเที่ยว

ข้อมูลจาก : ที่ทำการปกครองอำเภอกุดชุม ; สิงหาคม ๒๕๔๖
                                                                      
20:42 thanyathorn
แหล่งท่องเที่ยว
๑. ในเขตพื้นที่ของตำบลกุดชุม มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติดังนี้
๑.๑ ภูหินปูน  ตั้งอยู่ห่างจากบ้านนามน ม. ๑๖ ต. กุดชุม ประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นส่วนหนึ่งของแนวภูเขาที่ทอดยาวเป็นช่วง ๆ จากอำเภอเลิงนกทา ภูมิประเทศบางแห่งมีความละม้ายคล้ายภูผาเทิบ จังหวัดมุกดาหาร บริเวณที่โดดเด่นที่สุด คือปฏิมากรรมหินทรายขนาดใหญ่ฝีมือธรรมชาติ คล้ายเต่ายักษ์โบราณชูคอ จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของภูหินปูน บ้างคล้ายยอดมงกุฎ และรูปสัตว์ประหลาดต่าง ๆ ตามแต่มุมมององศาที่มองดูและจินตนาการของผู้พบเห็น ในหน้าฝน พืชตระกูลหญ้าที่มีดอกสีสรรสวยงามนานาชนิดเจริญงอกงามตามลานหิน ที่มีน้ำไหลผ่าน ซึ่งพบได้ที่ภูผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี ภูผายล จังหวัดสกลนคร ภูสระดอกบัว จังหวัดมุกดาหาร ให้ความประทับจิตเช่นไร ที่นี่ก็ให้ความประทับใจเช่นนั้น
กิจกรรมที่น่าสนใจ เป็นเส้นทางของจักรยานเสือภูเขา การเดินป่าศึกษาระบบนิเวศวิทยา (Ecological System) เรียนรู้ความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง ทั้งสังคมพืชและสังคมสัตว์น้อยใหญ่ ที่กำเนิดมาและอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนบนภูหินปูนแห่งนี้…. จากจุดนี้ข้างหน้าเป็นเส้นทางที่ทอดเลื้อยไปตามความสูงของภู ประมาณ ๒๐๐ เมตร ไปสิ้นสุดที่หน้าผาใหญ่ ซึ่งบริเวณแห่งนี้เป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์นามพุทธสถานภูหินปูน….๑.๒ ภูหมากพริก ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านทองสัมฤทธิ์ ม.๑๕ ต.กุดชุม ห่างจากภูหินปูนตามเส้นทางถนนลูกรังประมาณ ๘ กม. ธรรมชิภูแห่งนี้ยังคงความอุดมสมบูรณ์ตามลักษณะของป่าดิบแล้วประกอไปด้วยสมุนไพร และสัตว์ตัวเล็ก ๆ จำพวกกระลอก กระแต กระต่ายป่า ตะกวด ไก่ป่า งู และนก ภูมิประเทศบางช่วงบางตอนคล้ายภูกระดึงจังหวัดเลย ตามลำห้วยซึ่งมีน้ำไหลผ่านลานหิน จะมีปูภูเขาอาศัยอยู่ตามซอกหินริมน้ำ ชาวบ้านเรียกปูชนิดนี้ว่า ปูแป้ง ลักษณะหลังกระดองมีสีม่วง ลำตัวและขามีสีส้ม จาง ๆ และมีลักษณะพิเศษอีกประการคือ ที่ขาจะมีขนขึ้นประปราย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเครื่องหมาย แสดงความสำคัญ ที่ลงตัวของระบบนิเวศได้ทางหนึ่งและมีสถานที่อันที่น่าสนใจซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกันคืออ่างปากั้ง จั่นกอบง (แหล่งน้ำซึม) ต้นไทรย่องและถ้ำพระจันทร์ ลักษณะเด่นอีกอย่างของภูหมากพริกคือมีต้นจันทร์ผาที่สวยงามขึ้นตามบริเวณถ้ำที่เป็นหินเทิบขนาดใหญ่ และเป็นที่วิปัสนากรรมฐานของพระภิกษุสงฆ์อันเป็นที่ตั้งของภูหมากพริก
ภูหมากพริกยังเป็นตำนานของจักรยานเสือภูเขาซึ่งทุกปีจะมีการแข่งขันภายใต้ "กุดชุมสู่ภูหมากพริกต้านยาเสพติด" (เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๔๓) ในแต่ปีจะมีนักแข่งจักรยานเสือภูเขาจากทุกภาคในประเทศ และ ให้การยอมรับว่าเป็นสนามแข่งขันที่มีความประทับใจไม่แพ้ที่อื่น ๆ เลย๑.๓ ภูถ้ำสิม ตั้งอยู่บ้านทองสัมฤทธิ์ ม.๑๕ ต.กุดชุม เป็นถ้ำที่มีลักษณะเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ มีโขดหินขนาดใหญ่มาก ลักษณะเด่นของถ้ำสิม คือ บริเวณรอบ ๆ ถ้ำ จะมีพืชสมุนไพรบำรุงกำลังหลายชนิดเช่น ต้นพญาเสือโคร่ง ที่มีขนาดต้นใหญ่มาก
       http://www.yasothontoday.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=122
๒. ในเขตพื้นที่ของตำบลคำน้ำสร้าง เขตภูเขาของตำบลคำน้ำสร้าง ช่วงปลายฝนต้นหนาวระหว่างเดือนตุลาคม ถึง เดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นช่วงรอยต่อฤดูการปลายฝนต้นหนาวถือว่าเหมาะสมที่สุดในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ด้วยแผ่นดินมีความชุ่มชื้นแต่ไม่ชื้นแฉะเหมาะแก่การเดินทาง อากาศกำลังเย็นสบายไม่ถึงหนาวเหน็บ สายธารน้ำตกยังสาดซ่าได้เห็นสังคมพืชตระกูลหญ้านานาชนิดบนลานหิน เช่น สร้อยสวรรณา ดุสิตา หนาวเดือนห้า กระดุมเงิน กระดุมทอง บัวดิน กำลังผลิดอกสพรั่งงดงามเป็นพิเศษ บริเวณทางน้ำไหลผ่านก่อนจะโรยราตอนสิ้นปี ด้วยบรรยากาศเช่นนี้จึงขอแนะนำและเชื้อเชิญให้ไปท่องเที่ยวที่เขตพื้นที่ตำบลคำน้ำสร้าง ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งอาทิเช่น
๒.๑ ภูถ้ำพระ ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านภูถ้ำพระ ม.๕ ต. คำน้ำสร้าง ห่างจากอำเภอกุดชมประมาณ ๑๔ กม. สภาพพื้นที่เป็นลาหินปูนมีปฏิมากรรมหินทรายฝีมือธรรมชาติกระจายกันอยู่ทั่วไป และมีพุทธรูปปางไสยาสน์ ขนาดใหญ่และพระพุทธรูปปาง ต่าง ๆ ประดิษฐานบนเนินหินดูโดดเด่นสดุดตาทัศนียภาพสามารถมองเห็นได้รอบทิศทาง และในช่วงวันที่ ๒๕ เมษายนของทุกปีจะมีชาวบ้านในพื้นที่และใกล้เคียงขึ้นไปสรงน้ำพระ ซึ่งถือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาช้านานแล้ว
 http://www.tlcthai.com/travel/9474/%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%
๒.๒ น้ำตกนางนอน เดิมชื่อหลุบปลาผาอยู่ห่างจากวัดภูถ้ำพระประมาณ ๘๐๐ ม. เมื่อถึงที่จอดรถเดินต่อไปอีกประมาณ ๒๐๐ ม. ถึงลำห้วยซึ่งมีน้ำไหลผ่านมาตามลานหินบรรยากาศชุ่มเย็นแวดล้อมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่นานาพันธุ์ช่วงที่เป็นน้ำตก สายน้ำไหลผ่านโขดหินและลดระดับเป็นมุมฉากสู่ลานหินเบื้องล่างถึงจะไม่ยิ่งใหญ่อลังการแต่ก็นับว่าเป็นความสวยงาม ที่ลงตัวทีเดียว นอกจากนั้นบริเวณใกล้เคียงกันยังมีถ้ำปลาและถ้ำเจียอันเร้นลับรอคอยผู้มาเยือน
๒.๓ อ่างเก็บน้ำหลุบหนองนอ ตั้งอยู่ในพื้นที่เชิงเขาของบ้านภูถ้ำพระ ม.๕ ต.คำน้ำสร้าง อ่างเก็บน้ำแห่งนี้ก่อสร้างเสร็จเมื่อต้นปี ๒๕๔๔ พื้นที่ผิวน้ำประมาณ ๕๐ ไร่ สภาพธรรมชาติยังคงสมบูรณ์อยู่มากกิจกรรมที่น่าสนใจคือ ดูนกเป็ดน้ำ ล่องแพ ศึกษาธรรมชาติ เดินป่าชมสวน รูปทรงแปลกตาพร้อมดอกหญ้าบานบนลานหินดังที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้นหรือการปั่นจักรยานเสือภูเขา รวมถึงเส้นทางในการแข่งออฟโรด ที่น่าตื่นตาตื่นใจไม่แพ้กัน ทุกวันจะมีแม่ค้านำอาหารและเครื่องดื่มมาจำหน่ายด้วย ที่นี่ถือเป็นดาวรุ่งของแหล่งท่องเที่ยวอำเภอกุดชุม
๓. ในเขตพื้นที่ของตำบลหนองแหน จากอำเภอกุดชุมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๒๕ กิโลเมตร คือพื้นที่ ตำบลหนองแหนที่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๘๒ ตารางกิโลเมตร ด้วยการที่มีแนวภูเขาหินปูนพาดผ่าน จึงก่อให้เกิดภูมิประเทศที่งดงามไปด้วยภูผา หุบเขาผืนป่า ผืนน้ำ ส่ำสัตว์น้อยใหญ่และวัดเชิงภู ส่วนพื้นราบนอกจากการทำนาตามวิถีชีวิตของชาวอีสานแล้ว ที่นี่ยังเป็นแหล่งผลิตยางพารา อ้อย พุทรา และฟักทองบ้านโนนประทายอันเลื่องชื่อ โคขุนก็เป็นหนึ่ง สินค้าประเภท หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ คือกระติบข้าวที่ทำมาจากกกก็กำลังมาแรงด้วยความที่อยู่ห่างไกลตัวอำเภอและถนนหนทางบางช่วงก็ขรุขระไปบ้าง จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทรัพยากรการท่องเที่ยวยังมิได้เปิดตัวต่อสาธารณชนมากนักเสมือนหนึ่งมีม่านบังบาง ๆ มาบดบังไว้ในโอกาสนี้จึงใคร่ขอรายงานท่านอย่างคร่าว ๆ ดังนี้
๓.๑ ภูทางเกวียน ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าอ่างกกกุง เป็นส่วนหนึ่งของแนวภูหินปูน ภูแห่งนี้ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าดิบแล้ง และทุ่งหญ้าตามลานหิน จากยอดภูจะมองเห็นภูผาขาว ภูอีด่าง ภูจ้อก้อ นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ตั้งของวัดภูทางเกวียน จากเชิงเขามีทางขึ้นวัดได้ ๒ ทาง เส้นทางแรกเป็นทางเดินไปตามบันไดคอนกรีต ส่วนเส้นทางที่สองเป็นถนนคอนกรีต ซึ่งสามารถขับรถยนต์ถึงบริเวณวัดได้อย่างสะดวกสบาย สาเหตุที่เรียกกันว่า ภูทางเกวียน นี้ เนื่องจากบนภูเขามีร่องหินสองร่องขนานกัน คล้ายรอยล้อเกวียน โดยมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า มีผู้นำเกวียนบรรทุกของมีค่ามาซุกซ่อนไว้ ณ บริเวณแห่งนี้ ในอดีตจึงมีผู้พยายามขุดค้นหาของมีค่าและวัตถุโบราณกัน เพราะความสวยงามของภูแห่งนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของคำขวัญอำเภอกุดชุม ที่ว่า " งามนิมิตภูทางเกวียน " และหากมาเยือนช่วงปลายฝนต้นหนาว ท่านจะได้พบกับวัฏจักรธรรมชาติ ของภูทางเกวียนภาคอีสาน คือ ทุ่งดอกหญ้าบนลานหินด้วย
๓.๒ อ่างเก็บน้ำกกกุง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ต.หนองแหน มีพื้นที่ผิวน้ำประมาณ ๑๐๐ ไร่ ห่างจากตัวอำเภอกุดชุมประมาณ ๓๐ กิโลเมตร อยู่ระหว่างภูทางเกวียน และภูเพ แหล่งน้ำแห่งนี้อุดมไปด้วยปลาธรรมชาติ และปลาที่หน่วยงานกรมประมงนำมาปล่อย ในอนาคตอันใกล้นี้หวังว่าจะมีผลผลิตจากกุ้งก้ามกรามอีกด้วย เพราะเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๕ ที่ผ่านมานี้ ท่านสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดยโสธร นายสมบูรณ์ ทองบุราณ ร่วมกับนายอำเภอกุดชุม และ อบต. หนองแหน ได้ร่วมกันปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกรามเป็นจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ ตัว เนื่องจากเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สุด ของตำบลหนองแหน ประกอบกับทัศนียภาพโดยรอบเป็นภูเขาและป่าไม้ยังอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง อ่างกกกุงจึงเปรียบดุจเพชรเม็ดงามที่ซุกซ่อนอยู่กลางป่าเขา เฝ้ารอคอยเพื่อมอบความประทับใจแด่ผู้มาเยือน
กิจกรรมที่น่าสนใจ คือ การเดินป่า การตกปลา ตั้งแค้มปิ้งหรือนั่งเรือชมอ่างเก็บน้ำ
๓.๓ ภูผาขาว  เป็นส่วนหนึ่งของภูหินปูน มองเห็นแต่ไกล ลักษณะเป็นหน้าผาสีขาวโดดเด่น ส่วนที่เชิงภูเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ภูผาขาว ซึ่งมีศาลาหลังใหญ่สร้างใต้แนวหินเทิบยาวประมาณ ๑๐๐ เมตร บรรยากาศโน้นน้าวความรู้สึกให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของขุนเขา ชาวบ้านที่คุ้นเคยกับพื้นที่มักจะขึ้นไปหาของป่า ตามเส้นทางนี้
๓.๔ ดานยาว (สนามฮอ) ห่างจากสำนักสงฆ์ภูผาขาว ด้วยระยะทางเท้าคดเคี้ยวไปตามสันภูประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นลานหินขนาดใหญ่มากคำนวณด้วยสายตาคงมีพื้นที่ขนาดสนามฟุตบอล ๒ สนามต่อกัน ดารดาษไปด้วยทุ่งดอกหญ้าบนลานหิน โดยเฉพาะดอกกระดุมเงินจะมีมากเป็นพิเศษ ที่นี่เป็นแหล่งอาหารของกระต่ายป่า ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปหมด นอกจากนี้ยังเป็นจุดลงเฮลิคอปเตอร์ของกรมป่าไม้ที่มาดำเนินการดับไฟป่า โดยมีสัญลักษณ์เครื่องหมายวงกลมสีขาวขนาดใหญ่ ภายในทาสีแสด ลักษณะคล้ายพยัญชนะตัวไอ (ตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ)
กิจกรรมที่น่าสนใจ การเดินป่าท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ส่วนการตั้งเต้นพักแรมก็เป็นกิจกรรมที่ท้าทายให้ความรู้สึกเหมือนบรรยากาศที่ภูกระดึง แต่ต้องระมัดระวังผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมดั้งเดิมด้วย๓.๕ ดานฮังริน ตั้งอยู่ไหล่เขาลักษณะเป็นลานกว้าง ห่างจากดานยาว ประมาณ ๗๐๐ เมตร โดยการเดินย่ำขึ้นย่ำลงไปตามภูมิประเทศป่าดิบแล้ง ที่ยังคงความสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง ดานแห่งนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งแห่งความสุดยอด เห็นความหลากหลายของสังคมพืช ภาพเบื้องหน้าเป็นทุ่งดอกกระเจียวขึ้นสลับกับทุ่งหญ้าภูเขาชนิดต่าง ๆ ต้นรังตัวผู้ - ตัวเมีย ขึ้นเป็นหย่อม ๆ บางต้นใบสีแดงบางต้นใบสีขาว มองไปรอบตัวเห็นภูล้อมรอบ ๓๖๐ องศา อยู่ใกล้ ๆ ราวกับมือจะเอื้อมถึงและที่นี่เป็นต้นน้ำ " ฮ่องฮังริน " ลักษณะเป็นร่องน้ำที่ไหลผ่านโขนหินน้อยใหญ่รูปทรงแปลกตา เป็นแนวคดเคี้ยวทอดต่ำลงสู่ตีนภู
นอกจากนี้ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวเด่น ๆ ที่ภูแห่งนี้อีกเป็นอันมาก เช่น น้ำตกร่องตลาด ถ้ำเจีย ผาเฟิร์น ผาผึ้ง หากท่านผู้ใดใคร่จะสัมผัสกับธรรมชาตที่สุดแสนงดงามมหัศจรรย์ของภูเขา ตำบลหนองแหน โปรดติดต่อและประสานคนนำทาง (มัคคุเทศก์ท้องถิ่น) ได้ที่ อบต.หนองแหน หรือผู้ใหญ่บ้านหนองแหนก็ได้
แหล่งท่องเที่ยว ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อยู่ระหว่างการพัฒนาให้เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ซึ่งขณะนี้ ยังไม่มีที่พักและร้านขายอาหารสำหรับนักท่องเที่ยว

ข้อมูลจาก : ที่ทำการปกครองอำเภอกุดชุม ; สิงหาคม ๒๕๔๖
                                                                      
         อำเภอกุดชุมมีสิ่งที่เรียกว่าภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นที่ยอมรับกันในระดับประเทศก็ว่าได้ ซึ่งเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากดังนี้
๑. ผลิตผลข้าวหอมมะลิปลอดสารพิษ โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของกลุ่มเกษรตกรทำนาบ้านโสกขุมปูน หมู่ที่ ๒ ต.นาโส่ ซึ่งเป็นตัวอย่างของชุมชนที่มีการจัดการที่ครบวงจร เริ่มตั้งแต่การปลูกข้าวโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีจนถึงกระบวนการแปรรูป ผลผลิตเป็นข้าวสารปลอดสารพิษส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลก ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของตำบลนาโส่และได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับจังหวัด ได้กำหนดเข้าใน Web Site หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์เรียบร้อยแล้ว (ดูข้อมูล) และในแต่ละเดือนจะมีกลุ่มนักศึกษา กลุ่มนักท่องเที่ยว กลุ่มนักวิจัยฯ ได้แวะเวียนมาศึกษาดูงาน ที่โรงสีข้าวบ้านโสกขุมปูน เป็นประจำ
๒. งานหัตถกรรมกลุ่มแม่บ้าน บ้านโนนยาง ต.กำแมด เป็นผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติและนำไปดัดแปลงเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่นกระเป๋า หมวก ซองใส่โทรศัพท์ กระเป๋าใส่เอกสารและอื่น ๆ อีกมากมาย กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรฯกลุ่มนี้มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ได้แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยตามความถนัดของสมาชิกในกลุ่ม และหนึ่งในกลุ่มย่อยนี้ก็คือกลุ่มผลิภัณฑ์จากผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ และได้รับการคัดเลือกให้เป็นสิน้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ของตำบลกำแมด และได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับจังหวัด ได้กำหนดเข้าใน Web Site หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์เรียบร้อยแล้ว (ดูข้อมูล)
๓. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พืชสมุนไพร บ้านท่าลาด ม. ๓ ต.น่าโส่
๔. ข้าวเกรียบ และหัตถกรรม สานเส้นพลาสติก บ้านหนองเมืองกลาง ม.๑๐ ต.กุดชุม เป็นการรวมกลุ่มกันของกลุ่มสตรี ทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ตะกร้า แจกัน หมวก (ดูข้อมูล)
๕. ฟักทองและผลิตภัณฑ์ฟักทอง บ้านโนนประทาย ม.๕ ต.หนองแหน ในพื้นที่ของตำบลหนองแหนเป็นเขตพื้นที่ของภูเขาเตี้ย ๆ สภาพดินยังเป็นดินร่วนซุยอุดมสมบูรณ์ประกอบกับลักษณะภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกพืชไร่ จึงทำให้บริเวณพื้นที่ดังกล่าวของตำบลหนองแหน โดยเฉพาะบ้านโนนประทายมีกาปลูกฟักทอง และอ้อยเป็นจำนวนมาก ด้วยความลงตัวของเหตุผลที่กล่าวมาแล้วจึงทำให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกรกลุ่มแม่บ้าน เพื่อนำผลผลิตของเกษตรกรมาแปรรูปและเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของ ต.หนองแหน
๖. ไร่หอม บ้านนาประเสริฐ ม.๑๔ ต.โพนงาม บ้านนาประเสริฐเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่งในเขต ต. โพนงาม ก็ไม่ได้แตกต่างจากหมู่บ้านอื่น ๆ เลย ในระแวกเดียวกันเท่าใดนักแต่เป็นที่น่าสังเกตคือ ประชาชนชาวบ้านนาประเสริฐมีผู้นำที่เข้มแข็งราษฎรในหมู่บ้านมีความสามัคคีขยันขันแข็ง ปลูกหอมแบ่ง (ที่ขายทั่วไปตามตลาดสดไม่ใช่หัวหอมแดง) ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีกันทั้งหมู่บ้านรายได้ดีกันพอสมควรเพราะมีตลาดรองรับ กลุ่มพ่อค้าคนกลางไปรับซื้อกันถึงหมู่บ้าน
ข้อมูลจาก : ที่ทำการปกครองอำเภอกุดชุม ; สิงหาคม ๒๕๔๖
https://www.facebook.com/yasothonbanhao/posts/383399371776217?fref=nf&pnref=story


ผ้าพันคอ

กลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ



                        15 หมู่ 10 ตำบลนาโส่ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร 35140

                                                        ผ้าขาวม้า


กลุ่มสตรีทอผ้าด้วยมือบ้านกำแมด
22 หมู่ 1 ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร 35140

ผ้าพันคอ,ผ้าขาวม้า



43 ม.10 บ.โคกสวาท ต.นาโส่ อ.กุดชุม จ.ยโสธร 35140

น้ำพริกเผากุ้ง




กลุ่มแม้บ้านนาสะแบง
24 บ.นาสะแบง ต.โนนเปือย อ.กุดชุม จ.ยโสธร 35000

ไข่เค็มดินสอพองต้มสุก



กลุ่มแม้บ้านนาสะแบง
24 บ.นาสะแบง ต.โนนเปือย อ.กุดชุม จ.ยโสธร 35000

ข้าวกล้องงอก




กลุ่มสร้างสรรค์ร่วมกันผลิต
11 หมู่ 12 ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร 35140


แจ่วบองสมุนไพร




วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านโนนยาง
100 หมู่ 17 ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร 35140





19:59 thanyathorn
         อำเภอกุดชุมมีสิ่งที่เรียกว่าภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นที่ยอมรับกันในระดับประเทศก็ว่าได้ ซึ่งเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากดังนี้
๑. ผลิตผลข้าวหอมมะลิปลอดสารพิษ โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของกลุ่มเกษรตกรทำนาบ้านโสกขุมปูน หมู่ที่ ๒ ต.นาโส่ ซึ่งเป็นตัวอย่างของชุมชนที่มีการจัดการที่ครบวงจร เริ่มตั้งแต่การปลูกข้าวโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีจนถึงกระบวนการแปรรูป ผลผลิตเป็นข้าวสารปลอดสารพิษส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลก ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของตำบลนาโส่และได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับจังหวัด ได้กำหนดเข้าใน Web Site หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์เรียบร้อยแล้ว (ดูข้อมูล) และในแต่ละเดือนจะมีกลุ่มนักศึกษา กลุ่มนักท่องเที่ยว กลุ่มนักวิจัยฯ ได้แวะเวียนมาศึกษาดูงาน ที่โรงสีข้าวบ้านโสกขุมปูน เป็นประจำ
๒. งานหัตถกรรมกลุ่มแม่บ้าน บ้านโนนยาง ต.กำแมด เป็นผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติและนำไปดัดแปลงเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่นกระเป๋า หมวก ซองใส่โทรศัพท์ กระเป๋าใส่เอกสารและอื่น ๆ อีกมากมาย กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรฯกลุ่มนี้มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ได้แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยตามความถนัดของสมาชิกในกลุ่ม และหนึ่งในกลุ่มย่อยนี้ก็คือกลุ่มผลิภัณฑ์จากผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ และได้รับการคัดเลือกให้เป็นสิน้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ของตำบลกำแมด และได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับจังหวัด ได้กำหนดเข้าใน Web Site หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์เรียบร้อยแล้ว (ดูข้อมูล)
๓. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พืชสมุนไพร บ้านท่าลาด ม. ๓ ต.น่าโส่
๔. ข้าวเกรียบ และหัตถกรรม สานเส้นพลาสติก บ้านหนองเมืองกลาง ม.๑๐ ต.กุดชุม เป็นการรวมกลุ่มกันของกลุ่มสตรี ทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ตะกร้า แจกัน หมวก (ดูข้อมูล)
๕. ฟักทองและผลิตภัณฑ์ฟักทอง บ้านโนนประทาย ม.๕ ต.หนองแหน ในพื้นที่ของตำบลหนองแหนเป็นเขตพื้นที่ของภูเขาเตี้ย ๆ สภาพดินยังเป็นดินร่วนซุยอุดมสมบูรณ์ประกอบกับลักษณะภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกพืชไร่ จึงทำให้บริเวณพื้นที่ดังกล่าวของตำบลหนองแหน โดยเฉพาะบ้านโนนประทายมีกาปลูกฟักทอง และอ้อยเป็นจำนวนมาก ด้วยความลงตัวของเหตุผลที่กล่าวมาแล้วจึงทำให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกรกลุ่มแม่บ้าน เพื่อนำผลผลิตของเกษตรกรมาแปรรูปและเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของ ต.หนองแหน
๖. ไร่หอม บ้านนาประเสริฐ ม.๑๔ ต.โพนงาม บ้านนาประเสริฐเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่งในเขต ต. โพนงาม ก็ไม่ได้แตกต่างจากหมู่บ้านอื่น ๆ เลย ในระแวกเดียวกันเท่าใดนักแต่เป็นที่น่าสังเกตคือ ประชาชนชาวบ้านนาประเสริฐมีผู้นำที่เข้มแข็งราษฎรในหมู่บ้านมีความสามัคคีขยันขันแข็ง ปลูกหอมแบ่ง (ที่ขายทั่วไปตามตลาดสดไม่ใช่หัวหอมแดง) ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีกันทั้งหมู่บ้านรายได้ดีกันพอสมควรเพราะมีตลาดรองรับ กลุ่มพ่อค้าคนกลางไปรับซื้อกันถึงหมู่บ้าน
ข้อมูลจาก : ที่ทำการปกครองอำเภอกุดชุม ; สิงหาคม ๒๕๔๖
https://www.facebook.com/yasothonbanhao/posts/383399371776217?fref=nf&pnref=story


ผ้าพันคอ

กลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ



                        15 หมู่ 10 ตำบลนาโส่ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร 35140

                                                        ผ้าขาวม้า


กลุ่มสตรีทอผ้าด้วยมือบ้านกำแมด
22 หมู่ 1 ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร 35140

ผ้าพันคอ,ผ้าขาวม้า



43 ม.10 บ.โคกสวาท ต.นาโส่ อ.กุดชุม จ.ยโสธร 35140

น้ำพริกเผากุ้ง




กลุ่มแม้บ้านนาสะแบง
24 บ.นาสะแบง ต.โนนเปือย อ.กุดชุม จ.ยโสธร 35000

ไข่เค็มดินสอพองต้มสุก



กลุ่มแม้บ้านนาสะแบง
24 บ.นาสะแบง ต.โนนเปือย อ.กุดชุม จ.ยโสธร 35000

ข้าวกล้องงอก




กลุ่มสร้างสรรค์ร่วมกันผลิต
11 หมู่ 12 ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร 35140


แจ่วบองสมุนไพร




วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านโนนยาง
100 หมู่ 17 ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร 35140